โครงการอบรมวิชาการ เรื่อง “งานเวชศาสตร์ครอบครัวกับการจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง: กรณีโรคข้อเข่าเสื่อม”
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม จัดโครงการอบรมวิชาการเรื่อง
“งานเวชศาสตร์ครอบครัวกับการจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง: กรณีโรคข้อเข่าเสื่อม” ระหว่างวันที่ 24 – 25 มีนาคม 2558 ณ ห้องประชุม 1-204 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพ/พยาบาลเวชปฏิบัติและบุคลากรสาธารณสุขเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการจัดการโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model) และการประยุกต์ในชุมชน แนวปฏิบัติการบำบัดรักษา (Update clinical practice guideline) โรคข้อเข่าเสื่อมในระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ แนวปฏิบัติที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based practice guideline)
เพื่อการบำบัดอาการโรคข้อเข่าเสื่อมแบบไม่ใช้ยา อีกทั้งเพื่อมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้รู้ นักคิด และนักการจัดการบริการสุขภาพ เพื่อร่วมสร้างระบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในพื้นที่รับผิดชอบ
ประโยชน์ที่ได้รับ
“งานเวชศาสตร์ครอบครัวกับการจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง: กรณีโรคข้อเข่าเสื่อม” ระหว่างวันที่ 24 – 25 มีนาคม 2558 ณ ห้องประชุม 1-204 อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพ/พยาบาลเวชปฏิบัติและบุคลากรสาธารณสุขเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการจัดการโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model) และการประยุกต์ในชุมชน แนวปฏิบัติการบำบัดรักษา (Update clinical practice guideline) โรคข้อเข่าเสื่อมในระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ แนวปฏิบัติที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based practice guideline)
เพื่อการบำบัดอาการโรคข้อเข่าเสื่อมแบบไม่ใช้ยา อีกทั้งเพื่อมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้รู้ นักคิด และนักการจัดการบริการสุขภาพ เพื่อร่วมสร้างระบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในพื้นที่รับผิดชอบ
ประโยชน์ที่ได้รับ
พยาบาลเวชปฏิบัติ/พยาบาลวิชาชีพ
และบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม
มีความรู้ที่ทันสมัยและมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน และแนวปฏิบัติการบำบัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม รวมทั้งมหาวิทยาลัยคริสเตียนและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐมได้ร่วมกันทำงานแบบเครือข่ายสุขภาพ
(Health partnership)
โดยใช้แนวปฏิบัติการดูแลรักษาตามหลักฐานเชิงประจักษ์ เป็นเครื่องมืออันสำคัญในการเพิ่มคุณภาพบริการแก่ผู้รับบริการโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชน มีผู้เข้าร่วมโครงการอบรมทั้ง 2 รุ่น จำนวน 204 คน พยาบาลวิชาชีพผู้เข้ารับการอบรม ได้รับอนุมัติคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง (CNEU) จากสภาการพยาบาลจำนวน 5.5 หน่วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น