การมีส่วนร่วมเพื่อสร้างนวัตกรรมต้านภัยเงียบเอ็นซีดี
นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ชั้นปี 2 วิชาเอกการบริหารโรงพยาบาล วิชาเอกการบริหารการพยาบาล และนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ชั้นปี 2 สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน และสาขาวิชาการบริหารการพยาบาล ร่วมจัดการสัมมนาวิชาการ เรื่อง การมีส่วนร่วมเพื่อสร้างนวัตกรรมต้านภัยเงียบเอ็นซีดี เพื่อเป็นการให้บริการวิชาการแก่สังคม เมื่อวันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ณ ห้องประชุม อาคารเฉลิมราชสมบัติ ชั้น 9 โรงพยาบาลชลบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
โดยบุคลากรสาธารสุข และผู้เข้าร่วมการสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ จำนวน 216 คน ได้เกิดความรู้ และเกิดเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างนวัตกรรมต้านภัยเงียบเอ็นซีดี อย่างดียิ่ง
โดยบุคลากรสาธารสุข และผู้เข้าร่วมการสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ จำนวน 216 คน ได้เกิดความรู้ และเกิดเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างนวัตกรรมต้านภัยเงียบเอ็นซีดี อย่างดียิ่ง
ประโยชน์ที่ได้รับจากการสัมมนาวิชาการ
เรื่องการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างนวตกรรมต้านภัยเงียบ
NCD
1.เรียนรู้ผลกระทบของ NCDs ต่อเศรษฐศาสตร์สุขภาพประเทศไทย
2.ได้รับทราบสถานการณ์กลุ่มโรค NCDs ได้แก่กลุ่มโรคหัวใจ
มะเร็ง เบาหวาน ปอดเรื้อรัง
3.ทราบแนวทางการศึกษาต้นทุนเศรษฐศาสตร์โรค NCDs ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทางตรงได้แก่ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล,ทางอ้อม
ได้แก่รายได้ที่หายไปของบุคคลและครอบครัว (Productivity loss) ซึ่งสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปประสานงานร่วมกับหน่วยเยี่ยมบ้านและการให้คำแนะนำในเชิงรุก ในกลุ่มชุมชนให้ตระหนักและเห็นความสำคัญ เพื่อป้องกันการเกิดโรค
ได้แก่รายได้ที่หายไปของบุคคลและครอบครัว (Productivity loss) ซึ่งสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปประสานงานร่วมกับหน่วยเยี่ยมบ้านและการให้คำแนะนำในเชิงรุก ในกลุ่มชุมชนให้ตระหนักและเห็นความสำคัญ เพื่อป้องกันการเกิดโรค
4.สนับสนุนส่งเสริมให้ความรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด เช่น การสูบบุหรี่
การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม
เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว
5.การเรียนรู้เรื่องบทบาทผู้บริหารในการนำองค์กรต้านภัยเงียบNCDs รูปแบบการนำ ทิศทาง เป้าหมายการดูแล วางแผน สื่อสารนโยบาย
ไปผู้มีส่วนร่วมและผู้ปฏิบัติงาน
รวมทั้งติดตามความก้าวหน้ารวมถึงสารสนเทศที่มีการออกแบบ
ในการสัมมนาครั้งนี้มุ่งเน้นในเรื่อง Case Manager และSystem
Manager ซึ่งจะนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทีมบริหารทางการพยาบาลเพื่อกำหนดเป้าหมายและวางแผนปฏิบัติการต่อไป
6.แนวปฏิบัติที่ดีในการสร้างนวตกรรม NCDs จากองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน
วิไลลักษณ์
กุศล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น